หัวข้อ   “ เสียงสะท้อนจากประชาชนเรื่องการขายหุ้น ปตท. ”
 
                 ประชาชน 77 % ไม่เห็นด้วยกับการขายหุ้น ปตท. ย้ำให้คงสถานะ
ความเป็นรัฐวิสาหกิจเหมือนปัจจุบัน
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
 
                 ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ(กรุงเทพโพลล์) เผยผลสำรวจความคิดเห็น
ประชาชนในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลจำนวน 1,160 คน พบว่า ประชาชนถึงร้อยละ
77.0 ไม่เห็นด้วย
กับแนวคิดเรื่องการขายหุ้นบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ให้กับกองทุน
วายุภักษ์  ซึ่งจะส่งผลให้บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) พ้นจากสถานะการเป็นรัฐวิสาหกิจ
ในขณะที่ร้อยละ 23.0 ระบุว่าเห็นด้วย  เมื่อถามต่อว่าแนวคิดการขายหุ้น ปตท. ดังกล่าว
มีวาระซ่อนเร้นทางการเมืองหรือไม่  ประชาชนร้อยละ 51.7 เชื่อว่ามีวาระซ่อนเร้น
ทางการเมือง
และร้อยละ 8.8 ไม่เชื่อว่าจะมีว่าระซ่อนเร้นทางการเมือง  ในขณะที่ร้อยละ
39.5 ระบุว่าไม่แน่ใจ
 
                 ส่วนเรื่องที่ประชาชนเป็นห่วงและวิตกกังวลมากที่สุดหากมีการขายหุ้น
ปตท. ให้กับกองทุนวายุภักษ์จริงคือ กลัวว่าประชาชนจะต้องรับภาระเรื่องค่าใช้จ่าย
ด้านพลังงานเพิ่มขึ้นในอนาคต ร้อยละ 44.1
  รองลงมาคือ  จะทำให้กลุ่มทุน
กลุ่มผลประโยชน์ต่างๆ  เข้ามาแสวงหาผลกำไรโดยยึดผลกำไรสูงสุดของผู้ถือหุ้นเป็นที่ตั้ง
ร้อยละ 19.6  และกลัวว่าอาจมีเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนเข้ามาเกี่ยวข้อง ร้อยละ 11.6
 
                 ทั้งนี้เมื่อให้ประชาชนเปรียบเทียบผลดีและผลเสียถึงผลกระทบที่จะเกิดกับประชาชนจากการแปรรูป ปตท.
พบว่า ร้อยละ 66.8 เชื่อว่าจะเป็นผลเสียต่อประชาชนโดยรวม (โดยราคาพลังงานประเภท น้ำมัน ก๊าช อาจจะสูงขึ้น)
มีเพียงร้อยละ 9.2 ที่เชื่อว่าจะเป็นผลดีต่อประชาชน (โดยราคาพลังงานประเภท น้ำมัน ก๊าซ อาจจะถูกลง) และร้อยละ 24.0
เชื่อว่าจะไม่ส่งผลกระทบ (โดยราคาพลังงานขึ้นอยู่กับตลาดโลกอยู่แล้ว)
 
                 ทั้งนี้เมื่อถามถึงสถานะ ของบริษัท ปตท. จำกัด(มหาชน) ควรเป็นแบบใด   ร้อยละ 62.6 ระบุว่าควรเป็น
รัฐวิสาหกิจที่รัฐสามารถกำกับดูแลได้เหมือนในปัจจุบัน
  รองลงมาร้อยละ 28.0 ระบุว่าให้ยึดคืนกลับไปเป็นของรัฐ
แต่เพียงผู้เดียว  และร้อยละ 9.4 ระบุว่า ควรเป็นของเอกชนเต็มตัว
 
                 ดังรายละเอียดต่อไปนี้
 
             1. ความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวคิดเรื่องการขายหุ้นบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ให้กับกองทุนวายุภักษ์
                 ซึ่งจะส่งผลให้บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) พ้นจากสถานะการเป็นรัฐวิสาหกิจ (พ้นจากการ
                 เป็นสมบัติของรัฐ)

 
ร้อยละ
ไม่เห็นด้วย
77.0
เห็นด้วย
23.0
 
 
             2. แนวคิดการขายหุ้น บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) มีวาระซ่อนเร้นทางการเมืองหรือไม่

 
ร้อยละ
เชื่อว่ามีวาระซ่อนเร้นทางการเมือง
51.7
ไม่เชื่อว่ามีวาระซ่อนเร้นทางการเมือง
8.8
ไม่แน่ใจ
39.5
 
 
             3. เรื่องที่เป็นห่วงหรือกังวลมากที่สุด หากมีการขายหุ้นของ บริษัท ปตท. จำกัด(มหาชน) ให้กับ
                 กองทุนวายุภักษ์จริง

 
ร้อยละ
ประชาชนจะต้องรับภาระเรื่องค่าใช้จ่ายด้านพลังงานเพิ่มขึ้น
ในอนาคต
44.1
จะทำให้กลุ่มทุน กลุ่มผลประโยชน์ต่างๆ เข้ามาแสวงหาผลกำไร
โดยยึดถือผลกำไรสูงสุดของผู้ถือหุ้นเป็นที่ตั้ง
19.6
อาจมีเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนเข้ามาเกี่ยวข้อง
11.6
รัฐบาลจะไม่มีอำนาจการบริหารจัดการด้านพลังงานและขนส่ง
ของประเทศชาติ
7.8
จะเสี่ยงต่อการหลุดไปเป็นของภาคเอกชนเต็มตัว
4.3
ประเทศจะถูกมองได้ว่า ต้องการตกแต่งบัญชีจะทำให้ประเทศ
เสียเครดิต (ซุกหนี้)
4.1
ไม่มีเรื่องที่น่าห่วง หรือวิตกกังวลเลย
8.5
 
 
             4. ความคิดเห็นเกี่ยวกับผลกระทบที่มีต่อประชาชนโดยรวมในด้านพลังงาน หากมีการแปรรูปให้
                 บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) พ้นจากการเป็นรัฐวิสาหกิจจริง

 
ร้อยละ
เชื่อว่าจะเป็นผลเสียต่อประชาชน (โดยราคาพลังงานประเภท
น้ำมัน ก๊าช อาจจะสูงขึ้น)
66.8
เชื่อว่าจะเป็นผลดีต่อประชาชน (โดยราคาพลังงานประเภท น้ำมัน
ก๊าซ อาจจะถูกลง)
9.2
เชื่อว่าไม่ส่งผลกระทบ (โดยราคาพลังงานขึ้นอยู่กับตลาดโลกอยู่แล้ว)
24.0
 
 
             5. บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ควรมีสถานะแบบใด

 
ร้อยละ
ควรเป็นรัฐวิสาหกิจที่รัฐสามารถกำกับดูแลได้เหมือนในปัจจุบัน
62.6
ควรเป็นของเอกชนเต็มตัว
9.4
ให้ยึดคืนกลับไปเป็นของรัฐแต่เพียงผู้เดียว
28.0
 
 
รายละเอียดในการสำรวจ
วัตถุประสงค์:
                  เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล เกี่ยวกับแนวคิด
การขายหุ้นบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ของรัฐบาล ในด้านต่างๆ เพื่อสะท้อนมุมมองให้ผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ และนำไปใช้
เป็นแนวทางในการพัฒนาประเทศต่อไป
 
ระเบียบวิธีการสำรวจ:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ที่อยู่ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ด้วยวิธีการสุ่ม
ตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) โดยสุ่มจากเขตการปกครองทั้งเขตชั้นใน ชั้นกลาง และชั้นนอก ได้แก่
เขตคลองเตย คลองสามวา คันนายาว ดินแดง ดุสิต ตลิ่งชัน ทวีวัฒนา ทุ่งครุ บางกอกน้อย บางกะปิบางเขน บางซื่อ บางนา
บางพลัด บางรัก บึงกุ่ม ปทุมวัน ประเวศ ป้อมปราบฯ พญาไท พระนคร ภาษีเจริญ มีนบุรี ราชเทวี ราษฎร์บูรณะ สวนหลวง
และสาทร และปริมณฑล ได้แก่ นนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ จากนั้นจึงสุ่มถนน และประชากรเป้าหมายที่จะสัมภาษณ์
อย่างเป็นระบบ ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,160 คน เป็นเพศชาย ร้อยละ50.1 และเพศหญิง ร้อยละ 49.9
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว (Face-to-face Interview) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถาม
ที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจ
สอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  24 - 26 มกราคม 2555
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 27 มกราคม 2555
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:    
             ชาย
581
50.1
             หญิง
579
49.9
รวม
1,160
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 25 ปี
291
25.1
             26 – 35 ปี
301
25.9
             36 – 45 ปี
281
24.2
             46 ปีขึ้นไป
287
24.8
รวม
1,160
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
743
64.0
             ปริญญาตรี
363
31.3
             สูงกว่าปริญญาตรี
54
4.7
รวม
1,160
100.0
อาชีพ:
 
 
             ข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ
112
9.6
             พนักงาน/ลูกจ้างบริษัทเอกชน
313
27.0
             ค้าขาย / ประกอบอาชีพส่วนตัว
368
31.7
             รับจ้างทั่วไป
163
14.1
             พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ
79
6.8
             อื่นๆ อาทิ นิสิตนักศึกษา อาชีพอิสระ ว่างงาน
125
10.8
รวม
1,160
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)
Email: bangkokpoll@bu.ac.th      โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776